Bangkok Rules : หลักการทั่วไป


หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (principle of non-discrimination) คือหลักการสำคัญและเป็นร่มใหญ่ของข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสําหรับผู้กระทําผิดหญิง (ข้อกำหนดกรุงเทพ) ทั้ง 70 ข้อ โดยหลักการไม่เลือกปฏิบัติเน้นย้ำว่า การคำนึงถึงความต้องการเฉพาะเชิงเพศภาวะและการดำเนินมาตรการบำบัดฟื้นฟูที่ตอบรับกับลักษณะเฉพาะของผู้ต้องขังหญิงนั้น ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของเรือนจำและทัณฑสถานส่วนมากมักถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ชายเป็นหลักและมักไม่เอื้อต่อความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังหญิง ซึ่งการเพิกเฉยต่อความแตกต่างและความต้องการเฉพาะเหล่านี้ทำให้ผู้ต้องขังหญิงไม่ได้รับโอกาสในการบำบัดฟื้นฟูอย่างเท่าเทียม

เกี่ยวกับข้อกำหนดกรุงเทพ & TIJ


ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง (United Nations Rules for the Treatment of Women Prisoners and Non-Custodial Measures for Women Offenders) หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) เกิดขึ้นภายหลังที่องค์การสหประชาชาติโดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 65 ได้ลงความเห็นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ให้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ที่ยอมรับกันในระดับสากล เพื่อให้ประเทศต่างๆ ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและผู้กระทำผิดหญิง โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางด้านเพศสภาวะของผู้หญิงในเรือนจำและเด็กติดผู้ต้องขัง ภายหลังจากการรับรองข้อกำหนดกรุงเทพ นานาประเทศรวมถึงประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ริเริ่มส่งเสริมให้มีการนำเอาข้อกำหนดกรุงเทพไปปรับใช้

สิ่งพิมพ์


คู่มือสำหรับการจ้างงาน ผู้ต้องขัง ผู้พัก...

ดูเพิ่มเติม

ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่า...

ดูเพิ่มเติม

การประเมินผลการปฏิบัติตามข้อกำหนดแมนเดลา...

ดูเพิ่มเติม

รายงานการศึกษา ผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่...

ดูเพิ่มเติม

การบริการสุขภาพในเรือนจำ

ดูเพิ่มเติม

แนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลก ปี 2564

ดูเพิ่มเติม